หุ้น TQM: นายหน้าประกันภัย กำไรเขย่ง!!!

หลังจากที่หายไปกับการลากตั้ง เอ๊ยเลือกตั้ง
ถึงเวลาแล้วที่ต้องมาทำงานทำการ ก้มหน้า ก้มตา กันต่อไป T T
วันนี้มิสเตอร์หุ้นเด้ง จะขอนำเสนอ หุ้น TQM
หุ้น TQM ทำอะไร?
บริษัท TQM เป็นนายหน้าประกันภัย คือเป็นตัวแทนในการขายประกันภัยผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ขายโดยตรง
( face to face), ขายผ่านโทรศัพท์ (Telesale), ขายออนไลน์
ข้อดีคือไม่ต้องรับความเสี่ยงเหมือนบริษัทประกันภัย คิดง่ายๆคือเป็นตัวแทนขาย เวลาเกิดเหตุบริษัทที่ต้องจ่าย
ค่าสินไหมคือบริษัทที่ออกประกัน TQM ไม่ต้องจ่าย เพราะเป็นตัวแทน
รับรายได้เป็นค่า commission รายได้ส่วนนี้คิดเป็น 60% ( โดยใน 60% นี้มีสัดส่วนลูกค้าเก่า 60%)
โดยรายได้จากค่า commission แยกตามผลิตภัณฑ์
ประกันวินาศภัย เช่นประกันรถยนต์ 96%
ประกันชีวิต 3% แต่ประกันชีวิตได้อัตรา commission เยอะกว่า ประกันรถยนต์
ในอุตสาหกรรม ประกันชีวิตโตกว่าประกันโตมากกว่าประกันรถยนต์ 3 เท่า
ส่วนรายได้ส่วนที่สองมาจากการให้บริการ เช่นบริการตรวจสภาพรถ เก็บไฟล์เสียง การส่งกรรมธรรม์
การเก็บเงิน รายได้ส่วนนี้คิดเป็น 39%
จุดเด่นของ TQM (จาก oopday Q4/2018)
1.ผู้บริหารมีประสบการณ์สูง กว่า 40 ปี ทำเป็นรุ่นที่ 3
2.มีพนักงานกว่า 4,000 คน call center 2000 คน ทีมขาย 400-500 คน
มี 95 สาขาทั่วประเทศ
3.มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย ครอบคลุม
4.มีความเสี่ยงต่ำ อย่างที่กล่าวว่าบริษัทไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องสินไหม
ต้นทุนพนักงาน ส่วนมาก base ตามค่า commission และกลุ่มลูกค้าที่เป็นลูกค้ารายย่อย 80%
ภาพรวมอุตสาหกรรม
เบี้ยประกันภัย โตเฉลี่ย 5% เฉลี่ยใน 5 ปี
แบ่งเป็น
ประกันวินาศภัย 26.6% (ประมาณ 2xx,xxx ล้านบาท)
ประกันชีวิต 73.4% (ประมาณ 6xx,xxx ล้านบาท)
ปกติ TQM โตมากกว่าอุตสาหกรรม 2 เท่า
ปีที่แล้ว อุตสาหกรรมโต 5% TQM โต 11%
สัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อ GDP ของประเทศไทยอยู่ที่ 5.4%
สัดส่วนเบี้ยประกัน ต่อคน ต่อปี (คิดง่ายๆคือคนไทยหนึ่งคนจ่ายค่าเบี้ยประกันเท่าไร ใน 1 ปี)
ของประเทศไทยคือ 323 ดอลลาร์ ประมาณ 9,690 บาทต่อปี(ที่อัตราแลกเปลี่ยน 30 บ./ดอลลาร์)
ซึ่งยังมีโอกาสโตถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ
สัดส่วนคนไทยที่มีประกันชีวิต(Penetration rate) อยู่ที่ 37%
ประเทศที่มีเกิน 100% แปลว่า 1 คนมีประกันมากกว่า 1 ใบ
โอกาสอื่นๆในการโต
ยอดขายรถยนต์โตเฉลี่ย 9.1% (โอกาสในการขายประกันภัยจากรถยนต์)
ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโตเฉลี่ย 5.4%
สัดส่วนผู้สูงอายุที่มากขึ้น ปี 2018 มี 7.9 ล้านคน ขณะที่ในอีก 20 ปี จะมี 16 ล้านคน
(โอกาสในการขายประกันสุขภาพ)
ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว โตเฉลี่ย 15.2% (โอกาสในการขายประกันเดินทาง)
Hi Tech : Hi Touch
ผู้บริหารถือคติว่า คนที่อยู่รอดคือคนที่ปรับตัวได้
การขายประกันสมัยก่อนใช้แค่ face to face อย่างเดียว ต่อมาก็เริ่มทำ telesale เป็นเจ้าแรก ตอนนี้ก็ทำช่อง
ทางการขายแบบ online ด้วย แม้โลกจะทันสมัยมากขึ้น แต่ยังต้องใช้คนดูด้วย
ความเสี่ยง?
จากรถยนต์ไร้คนขับ?
-แม้จะมีรถยนต์ไร้คนขับ แต่การปกป้องทรัพย์สินยังต้องมี เมื่อก่อนประกันอัคคีภัยขายดีที่สุด ต่อมาเป็นประกันรถยนต์ ถ้ารถยนต์ปลอดภัยขึ้น ก็จะมีการปกป้องทรัพย์สินอื่นๆ
รายได้โต 11% ทำไมกำไรโต 51% !!!
จะเห็นว่ารายได้ก็โต 11% ดูไม่น่ามีอะไร
ต้นทุนโตตามรายได้
แต่….
จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายในการบริหารลดลง!! ส่วนที่ลดลงได้เลยลงไปที่กำไรทันที!!!
(ส่วนมากจะเป็นลักษณะของบริษัทที่ถึงจุด EOS
แต่ในกรณีนี้ต้องตามดูกันต่อไปครับ เพราะ TQM เพิ่งเข้าตลาด ตัวเลขเลยยังไม่นิ่ง เอ๊ะ คุ้นๆ )
บรรทัดสุดท้าย?
แม้ TQM จะดูน่าติดตาม ความเสี่ยงไม่มาก แต่
ด้วยเป้าการโตที่ 10% ถ้าคิด NPM ที่ 16%
ปี 2019 รายได้ TQM จะประมาณ 2,777 ล้านบาท กำไร 444 ล้านบาท
Forward PE 2019 = 9,300/444 = 20.9 เท่า
ที่มา : TQM fact sheet
ต้องติดตามดูกันต่อไปครับ
ว่าบริษัทจะสามารถรักษาระดับ NPM หรือทำได้ดีขึ้นหรือไม่
ยังมีโอกาสทำได้เช่น ขยายการขายประกันชีวิตให้มากขึ้น
ที่สำคัญเราเห็นกันมาเยอะแล้วครับ ว่าตอนเข้าตลาดทุกอย่างดูดี
แต่หลังจากนั้นก็….
…
…
อยู่ดีๆก็หาย ไลน์ไม่ตอบ – –
ไว้พบกันใหม่ครับ 🙂
มิสเตอร์หุ้นเด้ง