หุ้น SELIC : ฉบับทำการบ้านเพิ่ม
หลังจากที่ผมได้เคยเขียนเกี่ยวกับ หุ้น SELIC ไว้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
หุ้น SELIC : กาวรายได้โต แต่…!!!
ก็ยอมรับตามตรงครับว่า ยังหาข้อมูลน้อยไป แม้แต่ oopday ที่ผ่านมาก็ไม่ได้ดู
วันนี้ผมเลยลองเข้าไปดู OOPDAY Q3/2018 แล้วลองมาปรับสมมุติฐานเพิ่มเติม
SELIC ทำธุรกิจอะไร?
ทำธุรกิจผลิตกาวที่ใช้ในอุตสาหกรรม
เช่น ในอุตสาหรรม packaging, รองเท้า, เฟอร์นิเจอร์, เครื่องหนัง,
ผลิตภัณฑ์หลักๆได้แก่
1.กาว solvent ใช้ตัวทำละลายประเภท solvent ใช้ในอุตสาหกรรมรองเท้า, เครื่องหนัง, ที่นอน
2.กาวน้ำ เป็นกาวที่ใช้ติดฉลากขวดแก้ว มีคุณสมบัติเฉพาะคือ ทนความเย็น แต่เมื่่อผ่านความร้อนต้องล้างออกง่าย (เผื่อขวดต้องนำกลับไปหลอมใหม่)
3.กาว hot melt ต้องผ่านความร้อนก่อนใช้งาน
4.กาว hot melt PUR คงทนกว่ากาว hot melt ธรรมดา ใช้ในการยึดติดที่คงทน เช่น ติดไฟท้ายรถยนต์
กลุ่มอุตสาหรรมที่เป็นลูกค้าของ SELIC
-Food&Beverage
-รองเท้า เครื่องหนัง
-กลุ่มสินค้าอุปโภค บริโภค เช่น อุตสาหกรรมโรงพิมพ์, เฟอร์นิเจอร์, งานไม้, ที่นอน, โซฟา, ชิ้นส่วนยานยนต์
Financial Hilight
ยอดขายในประเทศมีสัดส่วน 58% โตนิดหน่อย
ขณะที่ยอดในต่างประเทศ ยอดขายหดตัว (จากความไม่แน่นอนทางการเมืองในเอเชียใต้และแอฟริกาใต้ ผบห.อธิบาย)
ยอดขายในแต่ละผลิตภัณฑ์
Solvent 52% ยอดขายในส่วนนี้ลดลง น่าจะเป็นส่วนที่ทำให้รายได้โดยรวมไม่ค่อยโต
Hotmelt 35%
Water Based 8%
อัตราการทำกำไรลดลง เนื่องจากมีการทำ deal การเข้าซื้อ PMC (ทำให้มีค่าใช้จ่ายในด้านที่ปรึกษาทางการเงิน)+ต้นทุนของวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น
PMC GROUP ACQUISITION
ลองมาดูรายละเอียดของ กลุ่ม PMC กันครับ
PMC แบ่งเป็น
1.PMCT ตั้งอยู่ในประเทศไทย
ผลิตและจำหน่ายสติ๊กเกอร์ มีชื่อเรียกเฉพาะว่า Self-adhesive labels
เป็นสติ๊กเกอร์ม้วนใหญ่ๆ สำหรับโรงงาน
โรงงานตั้งอยู่ที่นิคมสินสาคร
2.PMCS ตั้งอยู่ที่ประเทศสิงค์โปร์
เป็นผู้จัดจำหน่าย ส่งให้ลูกค้าในสิงค์โปร์และต่างประเทศ
ผลิตภัณฑ์หลักของ PMC
คือ Self-Adhesive Lable
เป็นสติ๊กเกอร์ที่ใช้ในโรงงาน ประกอบไปด้วย
Facestock ซึ่งเป็นส่วนที่โรงพิมพ์ พิมพ์เป็นลวดรายต่างๆ
Adhesive เป็นกาวที่ติดกับ Facestock และตัวที่เราแกะทิ้งจะเป็นส่วนที่เรียกว่า Liner
จุดเด่นของ PMC คือ
1.มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่ 4 ในประเทศไทย แม้ยอดขายจะห่างอันดับ 1,2 พอสมควร แต่ margin สูงที่สุด โอ้ว
(ผบห.อธิบายว่า เป็นเพราะ PMC มี operation ที่ดีมาก มร.ตัน เจ้าของใช้คติที่ว่า ถูก เร็ว และดี)
2.งบการเงินที่แข็งแกร่ง Net Profit เฉลี่ย 10%
3.คุณภาพได้มาตรฐาน
4.ส่งออกมากกว่า 12 ประเทศทั่วโลก
5.สินค้ามีความหลากหลาย
โดยสรุปของ deal นี้
คือ SELIC จะถือ 100% ในทั้งสองบริษัท เงินที่ต้องใช้ 1,050 ล้านบาท
ใช้เงินตัวเอง 150-200 ล้านบาท กู้ bank 900 ล้านบาท
ประชุมผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ที่ผ่านมา ซึ่งผู้ถือหุ้นก็อนุมัติ คาดว่าจะปิดธุรกรรม 4 ม.ค. 2562
ประโยชน์ที่จะได้
1.รายได้และกำไรที่โตขึ้น นอกจากนั้นยังมีโอกาสในการขายกาว ให้กับกลุ่ม PMC
( PMC ใช้กาวปีละ 80-100 ล้าน )
2.ขยายตลาด คือกลุ่มลูกค้าของ PMC และ SELIC ไม่ทับ line กัน ทำให้มีโอกาสในการ cross-sell
PMC มีลูกค้ามากกว่า 5XX ราย SELIC 1XX ราย
ผู้บริหารเดิม มร.ตัน และ ดาลิค ตามสัญญาต้องบริหารต่อ 2 ปี
แต่ SELIC กำลังคุยให้ มร.ดาลิค ช่วยบริหารต่อในระยะยาว
3.Operatin Synergy งานหลายๆ function ที่ซ้ำกันสามารถทำ cost share กันได้
ผมจะเน้นในส่วนที่ 1 นะครับเพราะมองเห็นตัวเลขที่แน่นอน พอจะใส่ตัวเลขเพื่อประมาณการณ์ได้
โดยรวมคือรายได้จะเพิ่มไปถึงเกือบ 1,500 ล้านบาท
จากเดิมที่ SELIC ที่มียอดขาย 600 ล้าน โตแบบไม่มีลิมิต ชีวิตเกิน 100% !!!
จากตารางนี้ที่จะบอกยอดรวม 9 เดือนในปี 2561 ของทั้งสองบริษัท
ผมจะลองดูแค่ผลประกอบการของ PMC ก่อนนะครับ
ง่ายคือจากงบรวม ลบเอา ผลประกอบการของ SELIC ออก
รายได้ 9M/2018 ของ PMC จะเป็น
รายได้ 644 ล้านบาท กำไร 84 ล้านบาท(เฉลี่ย ไตรมาสละ 28 ล้านบาท)
GP 26% NP 13% !!!
ขณะที่ SELIC
รายได้ 450 ล้านบาท กำไร 4.8 ล้านบาท
GP 24% NP 1%
ถ้าสมมุติว่าปีนี้ค่าใช้ของ SELIC มาจากการทำ deal นี้ จะลองใช้ margin จากปีที่ไม่มี deal นี้ก็ได้ครับ
(ปี 59 SELIC เคยทำ NP ได้ 6.9%, ปี 60 3.17% )
ข้อมูลที่ได้เพิ่มเติม
จุดที่ผมกังวลที่สุดคือ ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย เพราะต้องใช้เงินกู้ ถึง 900 ล้าน
แต่ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจากที่ผู้บริหารบอก(จาก OOPDAY Q3/2018)
คือคิดเร็วๆ ประมาณ 4x ล้านบาท
ขณะที่ผมให้เคยเขียนไว้ ที่ 6x ล้านบาท
ตอนนี้ SELIC ราคา 2.78 บาท market cap 778.4 ล้านบาท จำนวนหุ้น 280 ล้านหุ้น EPS ปี 2560= 0.07
ประเด็นที่น่ากังวล
โดยรวมแล้วผมกังวลกับธุรกิจหลักๆ มาก เนื่องจากปีนี้
รายได้ก็ดูทรงๆ ขณะที่ต้นทุนก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากทั้งที่วัสถดุดิบขึ้นราคา + ค่าใช้จ่ายจากการซื้อกิจการ + ค่าใช้จ่ายจากการปรับองค์กร
ทำให้ค่อนข้างกังวลในด้านคุณภาพกำไรไม่น้อย (ความเห็นส่วนตัวครับ)
ปรับปรุงประมาณการณ์ปี 2562 (ปรับการเดานั่นเอง)
1.Worst case: ให้รายได้และกำไรของทั้ง SELIC และ PMC ไม่โตเลย
และดอกเบี้ยจ่ายเป็น 63 ล้าน (จากเงินกู้ bank 900 ล้านบาท ที่อัตราดอกเบี้ย 7%)
SELIC ปีนี้ ทำกำไรเฉลี่ย ไตรมาสละ 1.6 ล้าน
(เฉลี่ยๆสำหรับปี 2561 บางคนอาจจะบอกว่าทำมันน้อยจังจากที่เคยทำได้จากปีละ 40 ล้าน
แต่มันคือ Worst case น่ะครับ ต้องคิดลบไว้ก่อน
ที่สำคัญในปีนี้กำไร 3Q ที่ผ่านมาคือ Q1 0.44 ล้าน, Q2 4.32 ล้าน, Q3 0.04 ล้าน กำไร 4 หมื่น โอวว )
ถ้าเฉลี่ยๆ ปีนี้จะมีกำไร 6.4 ล้านบาท
ถ้า PMC ทำกำไรเฉลี่ย ไตรมาสละ 28 ล้าน ปีนี้ควรมีกำไร 112 ล้านบาท คิดกลมๆ 110 ล้านบาท
จะได้ (6.4+110)-63 = 53.4 ล้านบาท FPE=14.5 เท่า
2.Base case: ให้รายได้และกำไรของทั้ง SELIC และ PMC ไม่โตเลย
และดอกเบี้ยจ่ายเป็น 50 ล้าน เฉลี่ยๆ ระหว่างที่ผมคิดกับที่ผหบ.บอก(4x-63 ล้านบาท)
กำไรจะเป็น (6.4+110)-50= 66.4 ล้านบาท FPE=11.7 เท่า
3. best case เอ่อๆๆ
อันนี้แล้วแต่ผู้อ่านแล้วครับ
เคยมีประโยคที่บอกว่า
ถ้าจัด dowside risk ได้ Upside จะจัดการตัวมันเอง
***ย้ำนะครับว่าตัวเลขเกิดจากคาดการณ์ส่วนบุคคล
ตัวเลขนี้จากการคาดการณ์ของผู้เขียน
โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูล
และสามารถหาข้อมูลบริษัท SELIC เพิ่มได้ ที่นี่
IR และ ผู้บริหาร SELIC พร้อมให้ข้อมูล ครับ 🙂
จบไปแบบดื้อๆ 🙂